Creative

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)


" เพื่อการแก้ไขปัญหา สร้างสิ่งใหม่ ก้าวไกลเกินฝัน "
การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ : โดยกระบวนการพัฒนา จิตเหนือสำนึก การพัฒนาของ มนุษย์นั้น จะต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย , จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมี พลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการฝึก ดังต่อไปนี้

1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย
2. การฝึกการคิดนอกกรอบ
3. การฝึกการคิดทางบวก
4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ ฯลฯ

และที่สำคัญยิ่ง คือ การฝึกดึงเอาพลังจิตเหนือสำนึก (Super Conscious) ขึ้นมาทำงานใสถานการณ์ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญใน การพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ และมีคุณค่า
ท่านจะได้ทราบว่า ความคิดสร้างสรรค์ มิใช่พรสวรรค์ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคน สามารถฝึกและพัฒนาได้ การฝึกก็ไม่ยาก สนุก และใช้เวลาเพียง 2 วัน โดยผ่านกระบวนการพัฒนาทางจิตเหนือสำนึก และการคิด แบบ Problem Solving
" ท่านจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างฉับพลัน ถูกต้อง
ท่านจะสามารถพัฒนางานและชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง
ท่านจะมีความหลากหลายทางความคิดอย่างไม่สิ้นสุด แต่มีคุณค่ายิ่ง
เมื่อท่านผ่านกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ "
แมรี่ โอมีโอรา ได้กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่เกิดจากจิตอันปราดเปรียวและรวดเร็ว สามารถจับหัวใจประเด็นของปัญหาจากข้อเท็จจริง คำพูด แผนภูมิ ความคิดเห็นต่างๆแล้วนำมาสร้างเป็นข้อเสนออย่างมีพลัง มีความสดใสใหม่ โน้มน้าวจิตใจของผู้พบเห็น
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่มีลักษณะอเนกนัย ซึ่งประกอบด้วย

1. ความคิดริเริ่ม (Originality) มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างจากของเดิม / คิดดัดแปลง ประยุกต์เป็นความคิดใหม่
2. ความคิดคล่องตัว (Fluency)
2.1 ด้านถ้อยคำ (Word Fluency) หลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้และไม่ซ้ำแบบผู้อื่น
2.2 ด้านความสัมพันธ์ (Associational Fluency) จากสิ่งที่คิดริเริ่มออกมาได้อย่างเหมาะสม
2.3 ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความคิดที่สามารถนำเอา ความคิดริเริ่มนั้นมา แสดงออก ให้เห็นเป็น รูปภาพได้อย่างรวดเร็ว
2.4 ความคิดคล่องด้านความคิด (Ideational Fluency) เป็นการสร้างความคิดให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดได้ทันที ที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) มีความเป็นอิสระคิดได้หลายๆอย่าง
4. ความคิดสวยงามละเอียดละออ (Elaboration) มีความรอบคอบ มีความคิดสวยงาม ด้านคุณภาพ มีความประณีต ในความคิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้าน
กระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์
James Webb Young ได้เสนอแนวความคิด 5 ขั้นตอน

1. ขั้นรวบรวมวัตถุดิบ
1.1 วัตถุดิบเฉพาะ เป็นข้อมูลวัตถุดิบต่างที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่ต้องการประชาสัมพันธ์
1.2 วัตถุดิบทั่วไป เป็นข้อมูลวัตถุดิบทั่วๆไปทั้งในส่วนขององค์การ และสภาพแวดล้อม เพื่อนำมาประกอบการสร้าง ความคิดสร้างสรรค์ ให้สมบูรณ์
2. ขั้นบดย่อยวัตถุดิบ เป็นขั้นการนำข้อมูลวัตถุดิบต่างๆ ที่ได้เก็บรวบรวมมาได้ นำมาแจกแจง พิจารณาวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้องกันของข้อมูล
3. ขั้นความคิดฟักตัว
4. ขั้นกำเนิดความคิด
5. ขั้นปรับแต่งและพัฒนา ก่อนไปใช้ปฏิบัติจะนำเสนอความคิดสู่การวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อการปรับแต่ง และพัฒนาความคิด ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เป็นจริง

ผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์
นิวแวล ชอล์ และ ซิมสัน ได้เสนอหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

1. เป็นผลผลิตที่แปลกใหม่และมีค่าต่อผู้คิด สังคมและวัฒนธรรม
2. เป็นผลผลิตที่เป็นไปตามปรากฏการณ์นิยมในเชิงที่ว่ามีความคิดดัดแปลงหรือยกเลิก ความคิดที่เคยยอมรับกัน มาก่อน
3. เป็นผลผลิตซึ่งได้รับจากการกระตุ้นอย่างสูงและมั่นคงด้วยระยะยาว หรือความพยายามอย่างสูง
4. เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลปัญหาซึ่งค่อนข้างจะคลุมเครือและไม่แจ่มชัด

ระดับความคิดสร้างสรรค์

1. ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น เป็นความคิดที่มีอิสระ แปลกใหม่ ยังไม่คำนึงถึงคุณภาพและการนำไปประยุกต์ใช้
2. ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง คำนึงถึงผลผลิตทางคุณภาพนำไปประยุกต์ใช้งานได้
3. ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง สรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการสร้างหลักการ ทฤษฎีที่เป็นสากล ยอมรับโดยทั่วไป

กระบวนการดำเนินการการพิจารณาความคิด

1. ประเมินค่าของความคิด
2. การปรับแต่งความคิด
3. การนำความคิดไปปฏิบัติให้เกิดผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น